ตำราในโครงการผลิตตำราเรียน
อ่าน 90 ครั้ง
![]()
เนื้อหาในหนังสือเล่มนี้จะอธิบายทฤษฎีเกี่ยวกับการคำนวณ ซึ่งประกอบไปด้วย ตัวแบบของการคำนวณแต่ละประเภทได้แก่ ออโตมาตาจำกัด ออโตมาตากดลง เครื่องจักรทัวริง ความสามารถในการคำนวณของตัวแบบ ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแบบการคำนวณแต่ละประเภทในทางทฤษฎี และภาษา |
||||||||||||||||||||||
![]()
หนังสือการจำลองตัวแบบทางธุรกิจ เป็นตำราระดับปริญญาตรีของสาขาวิชาสถิติธุรกิจและการประกันภัย หนังสือเล่มนี้จัดทำขึ้น โดยการอนุมัติเป็นโครงการสนับสนุนการผลิตตำราของคณะวิทยาศาสตร์ประยุกต์ ปีงบประมาณ 2561 ซึ่งผู้เขียนต้องกล่าวขอบคุณทางคณะวิทยาศาสตร์ประยุกต์ที่สนับสนุน เพื่อให้นักศึกษาได้เรียนตามมาตรฐานที่มหาวิทยาลัยกำหนด การจัดทำตำราต้องค้นคว้ามากเช่นเดียวกับการทำวิจัย เพื่อให้นักศึกษาสามารถต่อยอดการศึกษาต่อไปได้ วิชาการจำลองเป็นวิธีดำเนินการวิจัยอย่างหนึ่งที่นิยมใช้กันในขณะนี้ ทำให้มีผลงานวิจัยทางด้านทฤษฎีและการประยุกต์ที่ใช้การจำลองมอนติคาร์โลเป็นเครื่องมือมีจำนวนมากขึ้น |
||||||||||||||||||||||
![]()
ตำราเล่มนี้จัดทำขึ้นเพื่อประกอบการเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์ธุรกิจ สำหรับนักศึกษาหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาสถิติประยุกต์ ภาควิชาสถิติประยุกต์ คณะวิทยาศาสตร์ประยุกต์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ เนื้อหาในตำราเล่มนี้มีทั้งหมด 10 บท ประกอบด้วย บทนำ ฟังก์ชันเชิงเส้น ฟังก์ชันไม่เชิงเส้นและการประยุกต์ อนุพันธ์และการประยุกต์ การหาค่าเหมาะสุดของฟังก์ชัน ปริพันธ์และการประยุกต์ เมทริกซ์และการประยุกต์ ดอกเบี้ยเชิงเดียว ดอกเบี้ยทบต้น ค่ารายงวด และการประยุกต์ใช้โปรแกรมเอ็กซ์เซลกับคณิตศาสตร์ธุรกิจ อนึ่งวิชานี้เป็นวิชาสำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 2 ที่เริ่มเรียนวิชาเชิงประยุกต์ จึงมิได้เน้นการพิสูจน์สูตรหรือที่มาของสูตร และนักศึกษาที่เรียนวิชานี้มีวิชาบังคับก่อนเป็นวิชาคณิตศาสตร์ 1 เนื้อหาจึงเน้นในด้านการนำหลักการทางคณิตศาสตร์ไปประยุกต์ใช้กับงานด้านธุรกิจ และเศรษฐศาสตร์ และมีการประยุกต์ใช้ฟังก์ชันต่างๆ ในโปรแกรมเอ็กซ์เซลสำหรับการหาคำตอบ |
||||||||||||||||||||||
![]()
ทฤษฎีจำนวน (Number Theory) สำหรับนักศึกษา คณะวิทยาศาสตร์ประยุกต์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ โดยเนื้อหาประกอบไปด้วย 7 บท ได้แก่ บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้นของระบบจำนวนเต็ม บทที่ 2 การหารลงตัว บทที่ 3 ฟังก์ชันเลขคณิต บทที่ 4 การสมภาค และสมบัติที่เกี่ยวข้อง บทที่ 5 ทฤษฎีสำคัญในระบบมอดุโล บทที่ 6 เศษส่วนต่อเนื่องทั้งจำกัดและอนันต์ และบทที่ 7 เฉลยโจทย์เพิ่มเติมของแต่ละบท ในแต่ละบทจะอธิบายถึงการพิสูจน์ทฤษฎีบทต่างๆ ตามความเหมาะสม เมื่อผู้เรียนได้เรียนรู้และวิเคราะห์จนเข้าใจในหลักการ บทนิยาม ทฤษฎีบท และศึกษาจากตัวอย่างที่ให้ไว้ จะสามารถทำแบบฝึกหัดที่แนบท้ายในแต่ละหัวข้อได้ |
||||||||||||||||||||||
![]()
ตําราเล่มนี้ใช้สําหรับประกอบการเรียนการสอน รายวิชา 040433313 การประเมินคุณภาพอาหาร (Food Quality Evaluation) สําหรับนักศึกษาหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางอาหาร ภาควิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรมเกษตร อาหาร และสิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์ประยุกต์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ |
||||||||||||||||||||||
![]()
เทคโนโลยีบรรจุภัณฑ์วงจรรวมมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาอุตสาหกรรมวงจรรวมใน ประเทศไทย ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมที่มีฐานการผลิตใหญ่มีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศไทย เป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะในด้านการส่งออก สามารถสร้างรายได้เข้าประเทศไทยได้ปีละหลายแสนล้านบาท และยังเป็นอุตสาหกรรมที่สามารถดึงดูดนักลงทุนต่างชาติให้เข้ามาลงทุนในประเทศไทยได้ถึงหลายหมื่นล้านบาท ส่งผลถึงให้เกิดการจ้างงานเป็นจำนวนมากในประเทศไทย และยังส่งผลถึงการสร้างรายได้ ในการผลิตในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องอื่นๆ เช่น อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า อุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์เครื่องมือสื่อสาร เป็นต้น |
||||||||||||||||||||||
![]()
ตำราปฏิบัติการชีวเคมีสิ่งแวดล้อมเล่มนี้ ได้จัดทำขึ้นเพื่อให้นักศึกษาที่เรียนด้านเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม หรือสาขาที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมได้ใช้งาน นอกจากเป็นตำราที่มีข้อมูลทางทฤษฎีและความรู้พื้นฐานสำหรับปฏิบัติการชีวเคมีแล้ว ยังนำเสนอแนวการนำความรู้พื้นฐานทางชีวเคมีไปประยุกต์ใช้กับงานวิจัยด้านเทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม การนำเสนอแนวทางและตัวอย่างการนำปฏิบัติการชีวเคมีพื้นฐานไปประยุกต์ใช้ในเชิงสิ่งแวดล้อมดังกล่าว จะทำให้นักศึกษาได้รับมุมมองต่อยอดจากการใช้ตำราเรียนเล่มนี้ สำหรับโครงสร้างตำราปฏิบัติการชีวเคมีสิ่งแวดล้อมเล่มนี้ ได้ปูพื้นฐานตั้งแต่ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเครื่องมือและอุปกรณ์ที่จำเป็นต่อปฏิบัติการชีวเคมี ความปลอดภัยในการใช้ห้องปฏิบัติการ แนวทางการเขียนรายงานแบบเต็มรูปแบบ และหลังจากนั้นจะเป็นการแนะนำปฏิบัติการในแต่ละเรื่อง โดยในแต่ละเรื่องจะประกอบด้วยทฤษฎีพื้นฐาน ตามด้วยการปฏิบัติการชีวเคมีพื้นฐานสำหรับเรื่องนั้นๆ และต่อด้วยปฏิบัติการชีวเคมีที่นำมาประยุกต์ใช้ในเชิงสิ่งแวดล้อม |
||||||||||||||||||||||
![]()
หนังสือการวิจัยดำเนินงาน 1 ได้เรียบเรียงขึ้น โดยมีจุดมุ่งหมายที่ให้นักศึกษาของภาควิชาสถิติประยุกต์ได้ศึกษาอันมีผลมาจากระบบการประกันคุณภาพการศึกษาของมหาวิทยาลัยที่ต้องทำให้นักศึกษาได้เรียนรู้และได้รับความรู้อย่างตามที่ได้กำหนดไว้ในหลักสูตรของภาควิชาสถิติประยุกต์และมีเนื้อหาหรือรายละเอียดของวิชาการวิจัยดำเนินงาน 1 ดังนี้ 1. บทนำ 2. การโปรแกรมเชิงเส้น 3. ปัญหาควบคู่ 4. ปัญหาการขนส่ง 5. ปัญหาการจัดสรรงาน 6. การวิเคราะห์ข่ายงาน 7. การบริหารโครงงาน 8. การโปรแกรมจำนวนเต็ม 9. การโปรแกรมที่ไม่ใช่เชิงเส้น และในหนังสือเล่มนี้ผู้เขียนได้ใช้โปรแกรมสำเร็จรูป MS.Excel ในบางบทเรียนเพื่อให้ง่ายต่อการหาคำตอบ |
||||||||||||||||||||||
![]()
พีชคณิตเชิงเส้น (Linear Algebra) เป็นวิชาพื้นฐานที่สำคัญในสาขาคณิตศาสตร์ และคณิตศาสตร์ประยุกต์ นอกจากนี้ยังเป็นวิชาบังคับก่อนของวิชาชีพในหลักสูตรของภาควิชาคณิตศาสตร์ รวมทั้งในบางรายวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐานมีบางหัวข้อที่เกี่ยวข้องกับวิชาพีชคณิตเชิงเส้น โดยเฉพาะในเรื่องเมทริกซ์ การแก้ระบบสมการเชิงเส้น ซึ่งเป็นหัวข้อหนึ่งในรายวิชาพื้นฐาน เช่น วิชาเมทริกซ์และการวิเคราะห์เวกเตอร์ วิชาคณิตศาสตร์วิศวกรรม 2 วิชาคณิตศาสตร์วิศวกรรม 3 เป็นต้น และรวมถึงนักศึกษาสาขาอื่นๆ ที่มีการนำคณิตศาสตร์ไปประยุกต์ เช่น สาขาสถิติ คอมพิวเตอร์ วิศวกรรมศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ และสาขาอื่นๆ โดยตำราเล่มนี้ผู้เขียนได้เขียนครอบคลุมเนื้อหาของวิชาพีชคณิตเชิงเส้น ซึ่งประกอบด้วยบทนิยาม สมบัติต่างๆ การพิสูจน์ทฤษฎีบทที่สำคัญ ตัวอย่างประกอบ และแสดงผลด้วยกราฟ โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางคณิตศาสตร์ (MAPLE 16) เพื่อให้นักศึกษาสามารถนำไปศึกษาด้วยตนเองได้ครบถ้วนและเข้าใจดียิ่งขึ้น |
||||||||||||||||||||||
![]()
ผู้เขียนได้รับมอบหมายจากภาควิชาสถิติประยุกต์ให้สอนนับตั้งแต่ปีการศึกษา 2542 ถึงปัจจุบัน ผู้เขียนพบว่านักศึกษาที่เรียนวิชา เหล่านี้มีพื้นฐานทางคณิตศาสตร์และสถิติที่แตกต่างกัน ในปี พ.ศ. 2547 ผู้เขียนได้จัดทำตำราหลักสถิติซึ่งสื่อสารความเข้าใจโดยใช้รูปภาพแสดงรายละเอียดและความสัมพันธ์ของเนื้อหาในบทเรียน เพื่อช่วยให้ผู้เรียนที่ไม่ชำนาญในการสร้างมโนภาพของฟังก์ชันทางคณิตศาตร์ หรือลำดับขั้นตอนของการทดลองสามารถมองเห็นภาพของปัญหานั้นได้อย่างชัดเจนมากยิ่งขึ้น ปีการศึกษา 2558 ผู้เขียนจึงจัดทำตำราความน่าจะเป็นเบื้องต้น เพื่อเป็นตำราที่ผู้เรียนสามารถเข้าใจเนื้อหาการเรียนรู้ได้ง่ายขึ้นเช่นเดียวกับตำราหลักสถิติที่เคยได้จัดทำไว้ โดยคณะวิทยาศาสตร์ประยุกต์พิจารณาให้เป็นตำราในโครงการที่ได้รับทุนสนับสนุนการผลิตตำราเรียนประจำปีงบประมาณ 2559 ตำราเล่มนี้ประกอบด้วยบทเรียนทั้งหมด 5 บท โดยในตอนท้ายของแต่ละบทเรียนมีแบบฝึกหัดซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับให้ผู้เรียนได้ทดสอบ ความเข้าใจของตนเอง และสามารถตรวจสอบความถูกต้องได้จากเฉลยแบบฝึกหัดที่อยู่ในส่วนท้ายของตำราเล่มนี้ |
||||||||||||||||||||||
![]()
การเรียบเรียงตำราเล่มนี้ มีวัตถุประสงค์ให้เกิดประโยชน์แก่นักศึกษาปีที่ 2 ภาควิชาเคมีอุตสาหกรรม คณะวิทยาศาสตร์ประยุกต์ มหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ซึ่งต้องเรียนวิชาเคมีวิเคราะห์ 1 เป็นวิชาบังคับ โดยพยายามเน้นการคำนวณอย่างเป็นระบบ สรุปเนื้อหาสาระสำคัญจากประสบการณ์ที่ได้จากการสอนในชั้นเรียน การอ่านตำราเคมีวิเคราะห์ทั้งภาษาไทยและต่างประเทศ โดยใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย ผู้เรียบเรียงมุ่งหวังให้นักศึกษาได้เข้าใจพื้นฐานของเคมีวิเคราะห์ และสามารถนำพื้นฐานไปประยุกต์ใช้แก้ปัญหาโจทย์ที่ไม่เคยพบมาก่อนได้ และคาดหวังว่าเมื่อนักศึกษามีพื้นฐานที่ดี จะสามารถเข้าใจการอ่านตำราอื่นๆ เพิ่มเติมได้ง่ายขึ้น สามารถต่อยอดการเรียนรู้ขั้นสูงได้ อนึ่ง การเรียบเรียงตำราเล่มนี้ได้รับการสนับสนุนตามโครงการการผลิตตำราเรียน คณะวิทยาศาสตร์ประยุกต์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือประจำปีงบประมาณ ปี 2559 |
||||||||||||||||||||||
![]()
การใช้งานคอมพิวเตอร์ ได้กลายเป็นเครื่องมือพื้นฐานสำคัญสำหรับการศึกษา การค้นคว้าวิจัย การทำงาน ตลอดจนการใช้งานเพื่อความบันเทิง เข้าถึงผู้ใช้ทุกกลุ่มอาชีพ การใช้งานกันอย่างกว้างขวางแพร่หลาย อาจนำมาซึ่งอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ในรูปแบบต่างๆ ของผู้ไม่ประสงค์ดี ด้วยเหตุผลข้างต้น ทำให้ผู้เขียนเกิดแรงบันดาลใจที่จะเรียบเรียงหนังสือเล่มนี้ขึ้นมา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้ศึกษาได้ตระหนักและเข้าใจภัยคุกคามด้านต่างๆ ที่มีผลต่อความมั่นคงของระบบคอมพิวเตอร์ ผู้ศึกษาสามารถนำความรู้ กลวิธีการรับมือต่อภัยคุกคามหรืออาชญากรรมคอมพิวเตอร์ ไปประยุกต์ใช้งาน ซึ่งจำเป็นอย่างมากสำหรับการประกอบวิชาชีพที่เกี่ยวข้องกับระบบงานคอมพิวเตอร์ อาทิเช่น นักวิเคราะห์และออกแบบระบบ นักพัฒนาระบบ ผู้ดูแลระบบและบริหารจัดการเครือข่าย รวมถึงผู้ใช้งานทั่วไป จะได้ตระหนักและเข้าใจถึงนโยบายการรักษาความมั่นคงระบบคอมพิวเตอร์ภายในองค์กร รวมถึงการใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล และเพื่อสามารถตัดสินการกระทำที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงของระบบคอมพิวเตอร์ได้อย่างถูกต้องตามหลักจริยธรรม และกฎหมาย เนื้อหาต่างๆ ในหนังสือเล่มนี้ เกิดจากการศึกษา |
||||||||||||||||||||||
![]()
การพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืนต้องอาศัยความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับประเทศนั้นๆ และควรลดการพึ่งพาต่างชาติ ดังนั้น ความรู้ที่จะนำมาใช้เพื่อพัฒนาและแก้ปัญหาต่างๆ ของประเทศจึงต้องอาศัยการทำวิจัย ซึ่งประเทศไทยนับว่ามีการทำวิจัยด้านวิทยาศาสตร์ค่อนข้างน้อยเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศที่พัฒนาแล้วหลายๆ ประเทศ ทั้งนี้มีอาจสาเหตุมาจากหลายปัจจัย เช่น ขาดความตระหนักถึงความสำคัญของการทำวิจัย ขาดแคลนทุนวิจัย ขาดแคลนนักวิจัย ขาดความรู้ด้านการทำวิจัย เป็นต้น ภาควิชาเคมีอุตสาหกรรมตระหนักถึงปัญหาดังกล่าว จึงได้บรรจุวิชาระเบียบวิธีวิจัย (research methodology) เป็นวิชาบังคับในหลักสูตรเคมีอุตสาหกรรม ระดับปริญญาตรี เนื่องจากความรู้เกี่ยวกับระเบียบวิธีวิจัยด้านวิทยาศาสตร์นับว่ามีอยู่น้อยมากเมื่อเทียบกับระเบียบวิธีวิจัยวิจัยด้านสังคมศาสตร์ ผู้สอนจึงร่วมกันเรียบเรียงหนังสือเล่มนี้ขึ้นมาเพื่อใช้เป็นตำราเรียนในวิชาระเบียบวิธีวิจัย และเพื่อเป็นแหล่งให้ความรู้ด้านการค้นคว้าและการทำวิจัยด้านวิทยาศาสตร์ของนักศึกษาสาขาอื่นๆ ในคณะวิทยาศาสตร์ประยุกต์ ในการเขียนนี้ต้องบูรณาการความรู้หลายด้าน และส่วนหนึ่งเป็น |
||||||||||||||||||||||
![]()
หนังสือการพยากรณ์ทางธุรกิจเล่มนี้ประกอบด้วยเนื้อหาต่างๆ คือการวิเคราะห์การถดถอยเทคนิคค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ เทคนิคการปรับเรียบแบบ |
||||||||||||||||||||||
![]()
สิ่งแวดล้อมหมายถึงสิ่งที่อยู่รอบตัวเรามีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ โดยเฉพาะสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับสิ่งมีชีวิตหรือที่เรียกว่าชีวภาพ การใช้เทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์โดยการนำมาประยุกต์กับสิ่งมีชีวิตเกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมทั้งด้าน น้ำ อากาศ ดิน อุตสาหกรรม เป็นส่วนหนึ่งที่ทำเกิดความเข้าใจและใช้ประโยชน์สิ่งแวดล้อมด้านชีวภาพอย่างคุ้มค่าและไม่ก่อให้เกิดผลกระทบสิ่งแวดล้อมตามมา หนังสือเทคโนโลยีชีวภาพสิ่งแวดล้อมฉบับนี้ ผู้เขียนได้เรียบเรียงจากเอกสารที่เกี่ยวข้องและงานวิจัยที่ดำเนินการมากว่าสิบปี เพื่อใช้ประกอบการเรียนการสอนด้านสิ่งแวดล้อมและผู้ที่สนใจทั่วไป |
||||||||||||||||||||||
![]()
หนังสือวิศวกรรมกระบวนการชีวภาพเป็นผลงานที่ได้รวบรวมเพื่อเป็นเอกสารการเรียนการสอนของวิชาวิศวกรรมกระบวนการชีวภาพ (Bioprocess Engineering) ซึ่งเป็นวิชาหลักของนักศึกษาชั้นปีที่ 3 ของภาควิชาเทคโนโลยีชีวภาพและเป็นวิชาแกนในการเรียนการสอน จำนวน 3 หน่วยกิต หนังสือได้เน้นการอธิบายนิยามและความรู้ด้านวิศวกรรมกระบวนการชีวภาพ เพื่อให้เหมาะสมกับนักศึกษาที่มีความรู้พื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์ประยุกต์ที่เน้นทางชีววิทยา ที่จำเป็นต้องมีความรู้ทางด้านคณิตศาสตร์พื้นฐานและมีความรู้พื้นฐานในการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ เนื้อหาเน้นให้ผู้เรียนเป็นนักวิทยาศาสตร์ทางด้านเทคโนโลยีชีวภาพ โดยอาศัยตัวอย่างของการศึกษาจากผลงานวิจัยของผู้เขียนที่ผ่าน เอกสารคำสอนนี้อ้างอิงหลักมาจากหนังสือ "Elements of Chemical Reaction Engineering (4th Edition)" ของ ศาสตราจารย์ H. Scott Fogler อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมเคมีของมหาวิทยาลัย University of Ann Arbor, Michigan ซึ่งนักศึกษาสามารถหาความรู้ Lecture note ในรูปแบบของเว็บไซต์และ CD Rom ได้จาก http://www.engin.umich.edu/~cre/ หนังสือเล่มนี้จะรวบรวมเอาตัวอย่างของการคำนวณ การออกแบบศึกษาการทดลอง |
||||||||||||||||||||||
![]()
ตำราการสร้างภาพทางการแพทย์เบื้องต้นนี้ ผู้เขียนได้เรียบเรียงขึ้นเพื่อใช้เป็นตำราเรียนสำหรับนักศึกษาภาควิชาฟิสิกส์อุตสาหกรรมและอุปกรณ์การแพทย์ คณะวิทยาศาสตร์ประยุกต์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ เนื้อหาในตำราเล่มนี้มีความสอดคล้องกับคำอธิบายรายวิชา การสร้างภาพทางการแพทย์เบื้องต้น ประกอบไปด้วย เครื่องเอกซเรย์ที่ใช้สำหรับวินิจฉัยโรค อุปกรณ์จำกัดลำเอกซเรย์ อินเทนซิฟายอิงสกรีน ฟิล์มเอกซเรย์ และเครื่องล้างฟิล์มอัตโนมัติ ฟลูออโรสโคปี เครื่องเอกซเรย์หลอดเลือดดิจิตอล เครื่องเอกซเรย์เต้านม โทโมกราฟี เครื่องเปลี่ยนฟิล์ม และคาสเซ็ทเร็วอัตโนมัติ ระบบถ่ายภาพรังสีแบบดิจิตอล และคุณภาพของภาพถ่ายรังสี และการควบคุมคุณภาพ ในเนื้อหาดังกล่าวจะเน้นเกี่ยวกับส่วนประกอบ และหลักการทำงานของอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับการสร้างภาพทางการแพทย์พื้นฐาน ซึ่งบางเครื่องไม่เป็นที่นิยมใช้กันแล้ว แต่ยังคงนำหลักการพื้นฐานบางอย่างไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาอุปกรณ์สำหรับสร้างภาพทางการแพทย์ใช้กันอยู่ปัจจุบัน |
||||||||||||||||||||||
![]()
ตำราหลักและการประยุกต์ใช้วัตถุเจือปนอาหาร (Principle and Applications of Food Additives) เรียบเรียงขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ประกอบการเรียนการสอนทั้งในระดับปริญญาตรีและบัณฑิตศึกษาของภาควิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรมเกษตร อาหารและสิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์ประยุกต์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ และเพื่อเป็นแหล่งความรู้ทางวิชาการให้กับผู้สนใจที่ทำงานเกี่ยวข้องกับทางด้านอุตสาหกรรมอาหารได้มีโอกาสใช้ประกอบการทำงาน โดยเนื้อหาจะครอบคลุมวัตถุเจือปนอาหารส่วนมากที่ใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร |
||||||||||||||||||||||
![]()
สมการเชิงอนุพันธ์ (Differential Equations) เป็นวิชาพื้นฐานที่สำคัญในหลายสาขา เช่น สาขาคณิตศาสตร์ประยุกต์ วิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ เกษตรศาสตร์ แพทย์ศาสตร์ และสาขาอื่นๆ อีกมากมาย ดังนั้นวิชาสมการเชิงอนุพันธ์จึงถูกบรรจุให้เป็นวิชาบังคับของหลักสูตรต่างๆ หลายหลักสูตรในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ โดยตำราวิชาสมการเชิงอนุพันธ์ 1 (Differential Equations I) เรียบเรียงขึ้นตามหลักสูตรคณิตศาสตร์บริการของภาควิชาคณิตศาสตร์ในรายวิชาสมการเชิงอนุพันธ์ รหัสวิชา 421201/040203201 เนื่องจากตำราเล่มนี้ใช้สอนนักศึกษาหลายสาขาวิชา ดังนั้นผู้เขียนจึงได้พยายามเรียบเรียงเนื้อหาให้ง่ายต่อการทำความเข้าใจ ซึ่งผู้เขียนได้เพิ่มวิธีการหาคำตอบ การแสดงผลด้วยกราฟ โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางคณิตศาสตร์ (MAPLE 16) โดยรายละเอียดได้แสดงไว้ในส่วนของภาคผนวก เพื่อให้นักศึกษาสามารถนำไปศึกษาด้วยตนเองได้ครบถ้วนและเข้าใจดียิ่งขึ้น นอกจากนี้ผู้เขียนได้เพิ่มเนื้อหาในส่วนที่เกินจากเนื้อหาของรายวิชานี้คือ การหาคำตอบของสมการเชิงอนุพันธ์ที่มีสัมประสิทธิ์เป็นตัวแปรในบทที่ 6 สำหรับนักศึกษาที่ต้องการจ |
||||||||||||||||||||||
![]()
หนังสือเล่มนี้เรียบเรียงขึ้นมาเพื่อใช้เป็นตำราเรียนในวิชาเคมีสำหรับนักวิทยาศาสตร์ (Chemistry for Scientists) ซึ่งเป็นวิชาบังคับในหลักสูตรระดับปริญญาตรีหลายหลักสูตรของคณะวิทยาศาสตร์ประยุกต์ และคณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ และเนื่องจากวิชานี้มีนักศึกษาเรียนเป็นจำนวนมาก จึงมีอาจารย์ผู้สอนหลายท่าน คณาจารย์ผู้ร่วมสอนจึงเห็นพ้องร่วมกันในการจัดทำตำรากลางนี้ขึ้นมาเพื่อให้นักศึกษาใช้ทบทวนและทำความเข้าใจเพิ่มเติมได้ด้วยตนเอง โดยมีเจตนาที่จะไม่ให้ตำรานี้หนามากเกินไป จึงควบคุมเนื้อหาในแต่ละบทไม่ให้ละเอียดมากนัก แต่พยายามเน้นประเด็นที่สำคัญ พร้อมทั้งยกตัวอย่างประกอบและมีแบบฝึกหัดให้มาก |